วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Google Maps


    ในขณะนี้เรายังมีบริการ GoogleLocal Business Center สำหรับเจ้าของกิจการเพื่อเพิ่มรายชื่อลงใน Google Maps ในประเทศทั้งหมดที่กล่าวถึงข้างต้นด้วย

   Google Maps คือบริการของ  Google  ที่ให้บริการเทคโนโลยีด้านแผนที่ประสิทธิภาพสูง ใช้งานง่าย และข้อมูลของธุรกิจในท้องถิ่น ได้แก่ ที่ตั้งของธุรกิจ รายละเอียดการติดต่อ และเส้นทางการขับขี่ ด้วย Google Maps คุณจะเพลิดเพลินไปกับคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะดังต่อไปนี้



  
สาเหตุที่เลือก Application:
     Google Map ต้องใช้บริการที่รวมเอาแผนที่ การค้นหาธุรกิจในท้องถิ่น ภาพถ่ายจากดาวเทียม การค้นหาในระดับถนน และเส้นทางการขับขี่เข้าไว้ด้วยกัน ในปัจจุบัน Google Maps รุ่นที่มีความสามารถครบถ้วนสมบูรณ์มีให้บริการในประเทศต่างๆ
วิธีเข้าใช้ Google Map:
     1. เข้าเว็บไซต์ www.google.co.th
     2. คลิกที่ แผนที่
     3. พิมพ์พื้นที่ที่ต้องการค้นหา
     4. คลิกค้นหา แค่นี้ก็เจอพื้นที่ที่ต้องการ
ข้อดี Google Map:
       เราใช้ประโยชน์จากแผนที่ Google Map ได้มากมาย
เช่น การค้นหาสถานที่ต่างๆ และเส้นทางที่จะใช้ในการเดินทาง ค้นหา
สถานที่ใกล้เคียง ฯลฯ
ข้อเสีย Google Map:
       ข้อเสียของ Google maps จะมีอยู่ที่สู้ Traffy ไม่ได้ก็คือ มันไม่มีให้กดภาพวงจรปิดให้ดู แล้วก็การรายงานสภาพจราจรจะมีน้อยกว่า Traffy อยู่ครับในบางเส้นทาง Google maps จะไม่มีแต่ว่า Traffy
โปรแกรมอื่น ที่มีการทำงานคล้ายกันกับ Google Map:
        Google Map เป็นโปรแกรมแผนที่ทั่วโลก ใช้ง่าย รายละเอียดดีพอใช้ ในหลายพื้นที่สำคัญ ไม่ต้องลงโปรแกรมให้เครื่อง เหมือน Google Earth แค่เข้าไปเว็บเค้าเท่านั้น
http://maps.google.com/เข้าไปแล้ว ก็จะเจอแผนที่โลก  มี ตัว แถบให้เรา ซูมเข้า และออก ทางด้านบนซ้าย รวมทั้งการหมุน เราจะเลื่อนไปยังตำแหน่งทั่วโลก โดยการใช้ เม้าซ์คลิกลากเลื่อนแผนที่ ก็ได้ หรือ จะ พิมพ์ หา ชื่อเมืองที่ เราต้องการ อย่างเช่น Bangkok  ลงไป ในช่อง Serch Map ก็ได้ ถ้าตำแหน่งนั้นมีบันทึกไว้ มันจะพาเราไปที่นั่นเลย การหาแผนที่ นี่ ถ้าคนที่พอรู้ตำแหน่งคร่าว ๆก็จะเลื่อนไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้ไม่ยากเหมือนกับ การเปิดหนังสือแผนที่นั่นเอง แต่ว่ามันดีกว่า ตรงที่ Zoom ออก ให้เห็นมุมกว้างๆ เลื่อนได้ไวๆ และ Zoom เข้า เพื่อให้เห็นรายละเอียดได้ชัด ด้วยนอกจากการดูแผนที่แล้ว  มันยังใช้ กำหนดเส้นทางการเดินทางให้เรา ได้ด้วย รวมทั้งวาดแผนที่เดินทาง ให้เราได้ด้วยเช่นกัน

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

ระบบคอมพิวเตอร์
ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
         ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ ลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ
อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
o หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
o หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
o หน่วยความจำหลัก
o หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
o หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )
หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้น หน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์
หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนัก การที่ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้น ๆ ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักจะหายไป ในขณะที่ข้อมูลอยู่ที่ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็ยข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมากฮาร์ดแวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์
             ซอฟต์แวร์ (Software)
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ
o       ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
o       ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )
          ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป ส่วน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน
        ซอฟต์แวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์
              บุคลากร (Peopleware)
              ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไปบุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้
เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ
       o การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น
      o การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmer) เป็นต้น
      o การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ (System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator) เป็นต้น
      o การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นต้น
     o การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล เช่น ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
(
EDP Manager) เป็นต้น

                  ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)
ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ คือ

ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อนสารสนเทศเป็นสิ่งที่ผู้บริหารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ โดยที่สารสนเทศที่มีประโยชน์นั้นจะมีคุณสมบัติ

http://www.google.com
http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20intro2.htm

ระบบจำนวนและการแทนค่าข้อมูลในคอมพิวเตอร์

ระบบเลขฐานสอง  คือ  0,1
การแทนค่าหลักต่างๆในระบบเลขฐานสอง
256      128       64       32      16     8     4     2    1

การเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นฐานสอง
221ฐาน 10  คือ   เอา   2  หาร  221                 เศษ
                                        2  หาร  110                  1
                                        2  หาร  55                    0
                                        2  หาร  27                    1
                                        2  หาร  13                    1
                                        2  หาร  6                      1
                                        2  หาร  3                      0
                                        2  หาร  1                      
1
                   โดยการปัดเศษตั้งล่างขึ้นไปข่างบนก็จะได้ผลลัพธ์ของเลขฐานสองนั้นเอง                     
                     ผลลัพธ์ของการแปลงเลขฐานสิบมาเป็นฐานสอง คือ 11011101  ฐานสอง


การเปลี่ยนเลขฐานสองเป็นฐานสิบ
                      11010111
  ฐานสอง             215   ฐานสิบ
                      128+64-32+16-8+4+2+1     =  215   ฐานสิบ
                          1      1   0     1  0   1  1  1


ระบบเลขฐานแปด  คือ  0,1,2,3,4,5,6,7
การเปลี่ยนเลขฐานแปดเป็นฐานสอง
456   ฐานแปด   2  หาร  456                 เศษ
                              2  หาร  228                  0
                              2  หาร  114                  0
                              2  หาร  57                    0
                              2  หาร  28                    1
                              2  หาร  14                    0
                              2  หาร  7                      0
                                               
                              2  หาร  3                    1   
                                 1                1     
            โดยการปัดเศษตั้งล่างขึ้นไปข่างบนก็จะได้ผลลัพธ์ของเลขฐานสองนั้นเอง   
               ผลลัพธ์ของการแปลงเลขฐานแปดมาเป็นฐานสอง คือ 11100100  ฐานสอง


ระบบฐานสิบหก  คือ  0,1,2,3,4,5,6,7,8,9,A,B,C,D,E,F
การเปลี่ยนเลขฐานสองเป็นฐานสิบหก
                  01011100  ฐานสอง
      เป็น     5C   ฐานสิบหก
                 8421 8421     =  5C ฐานสิบหก
         โดยแยกออกเป็น  4  บิต  และก็กระจายตัวแทนค่าตัวเลขไปแล้วนำมาบวกกันก็จะได้ผลลัพธ์

www.google.com

ความหมายของคอมพิวเตอร์

             คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ 
            เทคโนโลยีสารสนเทศ  (Information Technology หรือ IT)  คือ เทคโนโลยีสำหรับ
การประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งจะครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ
การประมวลผล การค้นคว้าสารสนเทศ   สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น  3  กลุ่ม ได้แก่
           1.คอมพิวเตอร์
           2.สื่อสาร
           3.ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย
              ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆได้อีกมากมาย  องค์ประกอบทั้ง   3  ส่วน ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกันยกตัวอย่างเช่น เครื่องเซริฟเวอร์คอมพิวเตอร์
            เกิดการบริการ 
Online  ในรูปแบบต่างๆ
                  E-commerce   คือ  การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
                  Internet Banking  คือ  การให้บริการผ่าน  Internet
                  E-learning  คือ  เรียนผ่านทาง Internet
                  E-goverinment  คือ  รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
             ELECTPONIC BUNSNIS
คอมพิวเตอร์  คือ  คอมพิวเตอร์เครื่องเดียว
ระบบคอมพิวเตอร์  คือ  การเชื่อมโยงหลายเครื่อง
System   คือ  ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย  4  อย่าง
           1. 
Hardware 
           2.  Software
           3.  Peopleware
           4.  Data
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
           1.  ความเร็ว 
           2.  ความถูกต้องแม่นยำ 
           3.  เก็บข้อมูลจำนวนมาก
           4.  ย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างเร็ว

ฮาร์ดแวร์  คือ  ลักษณะทางกายภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ที่
                           เป็นหน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล  หน่วยแสดงผลลัพธ์ 
                           รวมทั้งเครื่องมือต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ
                 หน่วยรับข้อมูล  (
Input Unit)
                 หน่วยประมวลผลกลาง  (Centeal  Processing  Unit)
                 หน่วยความจำหลัก  (Main Memory Unit)
                 หน่วยแสดงผลลัพธ์
  (Output Unit)
                 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง  (Secondory Stovage)
อุปกรณ์ในการประมวลผล 
Computer
                  หน่วยประมวลผลกลาง 
                  หน่วยควบคุม
                  หน่วยคำนวณตรรกะ
                  
RAM  (Random Access Memory)
                  
Rom  (Read Only Memory)


วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการนำภาพถ่ายมาทำเป็นภาพจิ๊กชอว์

                                              การนำภาพถ่ายมาทำเป็นภาพจิ๊กซอว์
          ในบทความนี้นำเทคนิคเกี่ยวการทำภาพแบบจิ๊กซอว์ เผื่อว่าใครจะทำเป็นภาพจิ๊กซอว์ แล้วเอาไปอัดเข้ากรอบติดข้างฝา รับรองว่าเหมือนภาพจิ๊กซอว์ของจริง  โดยใช้โปรแกรม  Photoshop

                                                    
                                         ขั้นตอนการทำภาพจิ๊กซอว์ มีดังนี้
               ขั้นตอนที่ 1 เปิดภาพที่ต้องการใส่ทำเป็นภาพจิ๊กซอร์เข้ามาใน Photoshop โดยไปที่เมนูบาร์แล้วเลือก File --> Open (ภาพที่เลือกมีขนาดความกว้าง
360 px.)


               ขั้นตอนที่ 2 ใช้พาเล็ต Layers ทำการคัดลอก Layers โดยการคลิกค้างที่ Layer แล้วทำการลากมาวางที่ตำแหน่งที่ 2 หรืออาจใช้วิธีคลิกขวาที่เลเยอร์ เลือก Duplicate Layer  ซึ่งจะทำให้มีเลเยอร์เพิ่มขึ้นมาอีก 1 เลเยอร์

              ขั้นตอนที่ 3 คลิกที่เลเยอร์ที่สร้างขึ้นใหม่ แล้วทำการเปิดใช้งานพาเล็ต Styles โดยการเลือกคลิก Style ที่ตำแหน่งที่ 3 (หากไม่มี พาเล็ต Styles สามารถเรียกใช้โดยใช้คำสั่ง Window --> Styles)

              ขั้นตอนที่ 4 ปรับค่า Opacity ของเลเยอร์ที่ 2 ให้เหลือ 50%

             
                 ขั้นตอนที่ 5 ถึงขั้นตอนนี้บนภาพชิ้นงานของคุณก็จะมีลักษะเป็นเหมือนจิ๊กซอว์ แต่ยังไม่สวยงาม เพราะขนาดของจิ๊กซอว์ไม่สมดุลย์กับภาพ ให้ทำการ ดับเบิ้ลคลิกที่เลเยอร์ที่ 2 จะปรากฏไดอะล็อกบอกซ์ของ Layer Style ให้กำหนดค่าต่าง ๆ ดังภาพ




                                เมื่อคลิก Ok คุณก็จะได้ภาพจิ๊กซอว์สวยงามดังภาพ

           สำหรับเทคนิคนี้นั้น การนำไปใช้งานจริง ๆ ขึ้นอยู่กับขนาดของภาพที่คุณนำมาตกแต่ง ดังนั้นการกำหนดชิ้นส่วนของจิ๊กซอว์ให้สมดุลย์และสวยงาม จะขึ้นอยู่กับการปรับ Layer Styles ในขั้นตอนที่ 5