วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบบฐานข้อมูล (Data base Management System)

1. ระบบฐานข้อมูล (Database System)
    ระบบฐานข้อมูล (
File Management System)
    ปัญหาแฟ้มข้อมูล
        1.  ความซ้ำซ้อนของข้อมูล  (Data Redundancy)
        2.  ความไม่สอดคล้องกันของข้อมูล
        3.  ขาดความยืดหยุ่น
        4.  ความไม่ปลอดภัยของข้อมูล

        5.  ขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของข้อมูล
        6.  ข้อมูลมีความสัมพันธ์ลักษณะขึ้นต่อกับโปรแกรม  (
Application/Data Dependencies)

        7.  ข้อมูลแยกอิสระต่อกัน
ความหมายของฐานข้อมูล
      
     ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น
ฐานข้อมูลมีหลายประเภท
            
เช่น  ฐานข้อมูลทางภูมิศาสตร์ , ฐานข้อมูลความรู้ , ฐานข้อมูลทางมัลติมีเดีย
ระบบการจัดการฐานข้อมูล
           
คือ  ซอฟต์แวร์หรือกลุ่มของโปรแกรมที่ช่วยในการวางแผนประเภทของ 
DBMS  ส่วนประกอบของ  DBMS  มี  4  ส่วน  ได้แก่
            1.  โมเดลฐานข้อมูล
            2.  ภาษาข้อมูลความจำกัด
            3.  ภาษาในการจัดการข้อมูล
            4.  พจนานุกรมข้อมูล
โมเดลของข้อมูล  (
Data  Model) 
           คือ  ทำหน้าที่กำหนดรูปแบบโครงสร้างภาษาค่าจำกัดความของข้อมูล
องค์ประกอบของฐานข้อมูล  โดยพิจารณาจากการสร้างฐานข้อมูล
       1. เอนทิตี้
(Entity) หมายถึง ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ได้แก่ คน สถานที่ สิ่งของ การกระทำ ซึ่งต้องการจัดก็บข้อมูล
       2. 
ระเบียน (Record) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการเอาเขตข้อมูลหลาย ๆ เขตข้อมูลมารวมกัน เพื่อเกิดเป็นข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
แฟ้มข้อมูล (
File)
โครงสร้างของข้อมูลที่พิจารณาจากโครงสร้างข้อมูลตามลำดับ
       1.  บิท (
Bit) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด

       2.  ไบท์ (Byte) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำบิทมารวมกันเป็นตัวอักขระ   
(Character)
       3.  เขตข้อมูล (Field) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกันแล้วได้ความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ชื่อ ที่อยู่ เป็นต้น
       4.  แฟ้มข้อมูล  (File)  หมายถึง  เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในการจัดเก็บข้อมูล นามสกุลของไฟล์จะเป็นตัวบ่งบอกว่าเป็นไฟล์อะไร สามารถใช้โปรแกรมอะไรเปิดได้บ้าง การเรียนรู้ หรือเข้าใจประเภทของไฟล์ต่าง ๆ ย่อมจะมีส่วนช่วยให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลักษณะของนามสกุลของไฟล์จะอยู่หลังชื่อ เช่น Readme.txt นามสกุลของไฟล์คือ .txt เป็นต้น
       5.  ฐานข้อมูล  (
Data base)  หมายถึง  การรวมตัวกันของฐานข้อมูลตั้งแต่ 2ฐานข้อมูลเป็นต้นไปที่มีความสัมพันธ์กัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และทำให้การบำรุงรักษาตัวโปรแกรมง่ายมากขึ้น โดยผ่านระบบการจัดการฐานข้อมูล หรือ เรียกย่อ ๆ ว่า DBMS
ความสัมพันธ์ของข้อมูล
 แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
      1. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-one Relationships)
เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอนทิตี้หนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลในอีกเอนทิตี้หนึ่ง ในลักษณะหนึ่งต่อหนึ่ง (1 : 1)
      2. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One-to-many Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอนทิตี้หนึ่ง ที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลหลาย ๆ ข้อมูลในอีกเอนทิตี้หนึ่ง ในลักษณะ (1:m) ตัวอย่างเช่น
       3. ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many-to-many Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลสองเอนทิตี้ในลักษณะกลุ่มต่อกลุ่ม (m:n)
เอนทิตี้ใบสั่งซื้อแต่ละใบจะสามารถสั่งสินค้าได้มากกว่าหนึ่งชนิด ความสัมพันธ์ของข้อมูลจากเอนทิตี้ใบสั่งซื้อไปยังเอนทิตี้สินค้า จึงเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (
1:m) ในขณะที่สินค้าแต่ละชนิด จะถูกสั่งอยู่ในใบสั่งซื้อหลายใบ ความสัมพันธ์ของข้อมูลจากเอนทิตี้สินค้าไปยังอินทิตี้ใบสั่งซื้อ จึงเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1:n) ดังนั้นความสัมพันธ์ของเอนทิตี้ทั้งสอง จึงเป็นแบบกลุ่มต่อกลุ่ม (m:n)
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ
      1. ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น (Hierarchical Database)
    
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น เป็นโครงสร้างที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบพ่อ-ลูก (Parent-Child Relationship Type : PCR Type) หรือเป็นโครงสร้างรูปแบบต้นไม้ (Tree) ข้อมูลที่จัดเก็บในที่นี้ คือ ระเบียน (Record) ซึ่งประกอบด้วยค่าของเขตข้อมูล (Field) ของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ
      ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นนี้คล้ายคลึงกับฐานข้อมูลแบบเครือข่าย แต่ต่างกันที่ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น มีกฎเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งประการ คือ ในแต่ละกรอบจะมีลูกศรวิ่งเข้าหาได้ไม่เกิน
1 หัวลูกศร

2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Database)
ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะเป็นการรวมระเบียนต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนแต่จะต่างกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะแฝงความสัมพันธ์เอาไว้ โดยระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันจะต้องมีค่าของข้อมูลในแอททริบิวต์ใดแอททริบิวต์หนึ่งเหมือนกัน แต่ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย จะแสดงความสัมพันธ์อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น
3. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database)

       
เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เป็นตาราง (Table) หรือเรียกว่า รีเลชั่น (Relation) มีลักษณะเป็น 2 มิติ คือเป็นแถว (row) และเป็นคอลัมน์ (column) การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตาราง จะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์ (attribute) หรือคอลัมน์ที่เหมือนกันทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นี้จะเป็นรูปแบบของฐานข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

จอสัมผัสขนาดใหญ่

IRTOUCH จอสัมผัสขนาดใหญ่แบบแสงอินฟาเรด(Infrared Optical Touch Screen)
 IRTOUCH จอสัมผัสขนาดใหญ่แบบแสงอินฟาเรด(Infrared Optical Touch Screen)
                     
ขนาด
32 - 99" , 598 x 337 - 1748 x 1311 mm

IRTOUCH ไม่ต้องออกแรงกดมากและรองรับการสัมผัสทุกรูบแแบบ นิ้วมือ ถุงมือ หรือ ปากกา(stylus)
IRTOUCH มีความทนทานสูง ชุดคิททำงานอิสระต่อกัน ชิ้นส่วนบางชิ้นเสียไม่กระทบต่อตัวอื่น
IRTOUCH สามารถ ซื้อชุดคิทไปติดตั้งเองได้ ง่ายต่อการขนส่ง ประหยัดค่าขนส่งเมื่อเทียบกับจอสำเร็จรูบขนาดใหญ่ IRTOUCH สามารถปรับเปลี่ยนขนาดจอสัมผัสให้เล็กลง หรือขยายใหญ่ขึ้น ด้วยการถอดหรือติดตั้งส่วนประกอบเพิ่ม
IRTOUCH รองรับ ระบบปฏิบัติการ Windows 2000, XP, Vista, Linux, Intel Mac
IRTOUCH จอสัมผัส เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ด้วยพอร์ท USB (USB 1.1 ขึ้นไป)
IRTOUCH ใช้กำลังไฟฟ้า 5VDC, 200 mA (ชุดคิท รวมชุดจ่ายกำลังไฟฟ้าด้วย)

http://www.google.co.th
http://www.scanhitech.com/sch/ProductCat.aspx?ProTypeD=4
http://www.scanhitech.com/sch/ProductsDetail.aspx?ProD=IRTOUCH

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

การสื่อสารและโทรคมนาคม

         การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication) หมายถึง การติดต่อสื่อสารด้วยการรับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างตัวประมวลผล โดยผ่านสื่อกลางที่เชื่อมต้นทางและปลายทางที่ห่างกัน โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายรูปแบบ ตามกฎเกณฑ์ หรือระเบียบวิธีการที่กำหนดขึ้นในแต่ละอุปกรณ์
         เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึง การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป เพื่อขยายขีดความสามารถที่มีจำกัด ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือแบ่งปันทรัพยากรให้มีการใช้งานร่วมกัน
          โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง ระเบียบวิธีการ มาตรฐาน หรือกฎเกณฑ์ในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกันของเครื่องมืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ หรือ วิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูล ซึ่งผู้ส่งข้อมูลจะต้องส่งข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลงไว้กับผู้รับข้อมูล จึงจะสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้
           อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
2. ชนิดของสัญญาญข้อมูล (Signal Types)
            1.สัญญาณอนาลอก (
Analog Signal) อยู่ในรูปของคลื่นที่มีความต่อเนื่อง
            2.สัญญาณดิจิตอล (
Digital Signal) หรือสัญญาณพัลซ์ (Pulse Signal) มีระดับสัญญาณเพียง ระดับ คือสูงกับต่ำ
3. องค์ประกอบของการสื่อสาร
             1.ผู้ส่งข้อมูล (
Sender)
             2.ผู้รับข้อมูล (
Receiver)
             3.ข้อมูล (Data)
             4.สื่อนำข้อมูล (
Medium)
             5.โปรโตคอล (
Protocol)
4. ประเภทของเครือข่าย
              1.PAN (Personal Area Network)
              2.LAN (Local Area Network)
              3.MAN (Metropolitan Area Network)
              4.WAN (Wide Area Network)
http://www.thaiall.com/mis/img/network_sitet.jpg5. รูปแบบเครือข่าย (Topology)
             1.แบบดาว (
Star Topology)
             2.แบบบัส (
Bus Topology)
             3.แบบวงแหวน (
Ring Topology)
             4.แบบตาข่าย (
Mesh Topology)
             5.แบบไร้สาย (
Wireless Topology)
6. อุปกรณ์เครือข่าย (Network Equipment)
             1.ฮับ (
Hub)
             2.สวิตต์ (
Switch)
             3.อุปกรณ์ทวนสัญญาณ (
Repeater)
             4.บริดจ์ (
Bridge)
             5.เราเตอร์ (Router)
7. ประเภทของสื่อกลาง (Media Types)
               1.แบบใช้สาย ได้แก่ แบบสายเกลียวคู่ (
Twisted-pair wires) และ แบบสายเคเบิลร่วมแกน (Coaxial cable) และแบบสายเคเบิลใยแก้ว (Fiber optic)
               2.แบบไร้สาย ได้แก่ คลื่นไมโครเวฟ (
Microwave) คลื่นวิทยุ (Radio Wave) และแสงอินฟราเรด (Infrared)
8. แบบของการส่งข้อมูล (Data Transfer Types)
                1.สัญญาณไม่สัมพันธ์กัน หรือ สัญญาณแบบไม่ประสานจังหวะ (
Asynchronously) อักขระแต่ละตัวถูกส่งเพียงแค่ 1 ครั้ง โดยมีบิตเริ่มต้น (Start bit) และบิตสิ้นสุด (Stop bit)
                2.สัญญาณสัมพันธ์กัน หรือ สัญญาณแบบประสานจังหวะ (
Synchronously) ส่งข้อมูลเป็นบล๊อก ข้อมูลเป็นชนิดที่เกิดขึ้นทันที มีการตรวจสอบความซ้ำซ้อน (Redundancy check) แต่ตรวจด้วยการเพิ่ม bit ต่อท้าย มีไว้เพื่อตรวจความถูกต้อง เรียกว่า parity check เป็นการตรวจว่าผลรวมข้อมูลเป็นเลขคู่ หรือคี่
9. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)
                   1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบรวมศูนย์ (
Centralized Computer Network)
                   2.เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบกระจายศูนย์ (
Decentralized Computer Network)
10. ความเป็นส่วนตัวของอินเทอร์เน็ต
                   1.อินเทอร์เน็ต (
Internet) คือ เครือข่ายสาธารณะ
                   2.อินทราเน็ต (
Intranet) คือ เครือข่ายในองค์กร
                   3.เอ็กทราเน็ต (
Extranet) คือ เครือข่ายระหว่างองค์กร
11. ทิศทางการส่งข้อมูล (Direction of Data Sending)
                  1.การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (
Simplex Transmission)
                  2.การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (
Half-Duplex Transmission)
                  3.การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (
Full-Duplex Transmission)
12. โมเด็ม (Modem)
                  1.มอดูเลเตอร์ (
Modulator) แปลงดิจิทอลเป็นอนาล็อกในการส่งสัญญาณระยะไกล
                  2.ดีมอดูเลเตอร์ (
Demodulator) แปลงจากอนาล็อกกลับมาเป็นดิจิทอล
13. ช่องทางการติดต่อสื่อสาร
                  1.แบบมีสาย (
Physical Wire) 
สายทวิสเตดแพร์ (Twisted-pair wire) สายโคแอคเชียล (Coaxial Cable) สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable)

                  2.แบบไร้สาย (
Wireless) 
ดาวเทียม (Sattellite) อินฟราเรด (Infrared) คลื่นวิทยุ (Radio) และเซลลูลาร์ (Cellular)
14. โปรโตคอล (Protocol)
                  1.TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol)
                  2.HTTP (Hyper Text Transfer Protocol)
                  3.FTP (File Transfer Protocol)
                  4.SMTP (Simple Mail Transport Protocol)
                  5.POP3 (Post Office Protocol 3)
15. โมเดลการเชื่อมต่อ (OSI = Open System Interconnection Model)
                  1.Physical Layer
                  2.Data Link Layer
                  3.Network Layer
                  4.Transport Layer
                  5.Session Layer
                  6.Presentation Layer
                  7.Application Layer

ประเภทของแรมกับรอม

                              RAM 


                                                   RAM   แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. Static Random Access Memory ( SRAM )
            คือ RAM ซึ่งเก็บรักษาข้อมูลบิตไว้ในหน่วยความจำของมันตราบเท่าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงอยู่ ไม่เหมือนกับดีแรม (DRAM) ที่เก็บข้อมูลไว้ในเซลซึ่งประกอบขึ้นด้วยตัวเก็บประจุหรือคาปาซิเตอร์(Capacitor) และทรานซิสเตอร์ (Transistor) 
2. Dynamic Random Access Memory ( DRAM )
            คือ RAM หรือ หน่วยความจำชนิดปกติสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและเครื่องเวิร์คสเตชั่น(Workstation) ลักษณะของ DRAM จะเป็นคล้ายกับเครือข่ายของประจุไฟฟ้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เก็บข้อมูลในรูปของ "0" และ "1" ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ         ประเภทของ DRAM ในท้องตลาดแบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลัก
  2.1)  FPM DRAM
       เป็น RAM ชนิดที่ใช้กับ PC ในยุคเริ่มต้น โดยมีรูปแบบคือ SIMM (Single Inline Memory Modules)ปกติจะมีแบบ SIMM ละ 2, 4, 8, 16 และ 32 MB โดยมีค่า refresh rate ของวงจรอยู่ที่ 60 และ 70 nana sec.โดยค่า refresh ที่น้อยกว่าจะความเร็วมากกว่า
 2.2)  EDO DRAM
       เป็นชนิดที่ปรับปรุงมาจาก FPM โดยมีการปรับปรุงเรื่องการอ่านข้อมูล โดยทั่วไปแล้วการอ่านข้อมูลจาก RAM จะต้องระบุตำแหน่งแนวตั้ง และแนวนอนให้แก่วงจร RAM ถ้าเป็นชนิด FPM แล้วต้องระบุแนวใดแนวหนึ่งให้เสร็จเสียก่อน แล้วจึงระบุอีกแนวหนึ่ง แต่ EDO สามารถระบุค่าตำแหน่งในแนวตั้ง (CAS) และแนวนอน(RAS) ได้ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน หรือพร้อมกันได้
2.3)
  SDRAM
        เป็น RAM ชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน โดย 1 DIMMs จะมี 168 ขา และส่งข้อมูลได้ทีละ 64 บิต ทำให้ SDRAM แผงเดียวก็สามารถทำงานได้ เวลาในการเข้าถึงข้อมูลของ SDRAM จะมีค่าประมาณ6-12 n Sec. ปัจจุบัน SDRAM สามารถทำงานได้ที่ความถี่ 66, 100 และ 133 MHz
 2.4)  RAMBUS
          พัฒนามาจาก DRAM แต่มีการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในใหม่ทั้งหมด มีการเปลี่ยนแปลงระบบการเข้าถึงข้อมูลภายใน RAM ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้หลักการ “Pre-fetch” หรืออ่านข้อมูลล่วงหน้าโดยระหว่างนั้น CPU สามารถทำงานอื่นไปพร้อม  กันด้วย packet ของ RAMBUS จะเรียกว่า RIMMs (Rambus Inline Memory Modules) ซึ่งมี 184 ขา
            RAMBUS ทำงานกับไฟกระแสตรง 2.5 V ภายใน 1 RIMMs (Rambus Inline Memory Modules)จะมีวงจรสำหรับควบคุมการหยุดจ่ายไฟแก่แผงวงจรหน่วยความจำย่อยของ RAMBUS ซึ่งยังไม่ถูกใช้งานขณะนั้น เพื่อช่วยให้ความร้อนของ RAMBUS ลดลง และวงจรดังกล่าวจะทำหน้าที่ลดความเร็วของ RAMBUS ลงหากพบว่าความร้อนของ RAMBUS ขณะนั้นสูงเกินไป
            แผงวงจรหน่วยความจำย่อยของ RAMBUS 1 แผงจะรับ-ส่งข้อมูลทีละ 16 บิต โดยใช้ความถี่ 800MHz ซึ่งเกิดจากความถี่ 400 MHz แต่ทำงานแบบ DDR (Double Data Rate) ทำให้ได้ bandwidth ถึง 1.6GB/Sec. และจะมี bandwidth สูงถึง 6.4 GB/Sec. ถ้าใช้แผงวงจรย่อย 4 แผง                                                          ROM


หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
        หน่วยความจำหลักที่นิยมใช้งานอยู่ในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น
2 ประเภท คือ               หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory)
        นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า
 รอม (ROM) คือหน่วยความจำที่เก็บชุดคำสั่งที่ใช้ในการเริ่มต้นการทำงานหรือชุดคำสั่งที่สำคัญ ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ โดยคำสั่งที่ใช้ในชิปชื่อ ROM BIOS (Basic Input/Output System) เนื่องจากรอมมีคุณสมบัติในการเก็บข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าหล่อเลี้ยง นั่นคือ แม้จะปิดเครื่องแล้วเมื่อเปิดเครื่องใหม่ข้อมูลในรอมก็ยังอยู่เหมือนเดิม แต่ข้อเสียของรอมคือหน่วยความจำชนิดนี้ไม่สามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมชุดคำสั่งได้ในภายหลัง รวมทั้งมีความเร็วในการทำงานช้ากว่าหน่วยความจำแบบแรม
       นอกจากนี้ ในปัจจุบันมีรอมที่เป็นชิปพิเศษแบบต่าง ๆ อีก คือ

       PROM (Programmable Read-Only Memory)
          เป็นหน่วยความจำแบบรอม ที่สามารถบันทึกด้วยเครื่องบันทึกพิเศษได้หนึ่งครั้ง จากนั้นจะลบหรือแก้ไขไม่ได้

       EPROM (Erasable PROM)
          เป็นหน่วยความจำรอม ที่ใช้แสงอัลตราไวโอเลตในการเขียนข้อมูล สามารถนำออกจากคอมพิวเตอร์โดยใช้เครื่องมือพิเศษและบันทึกข้อมูลใหม่ได้

        EEPROM (Electrically Erasable PROM)
             จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดซึ่งรวมเอาข้อดีของรอมและแรมเข้าด้วยกัน เป็นชิปที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าในการหล่อเลี้ยงและสามารถเขียน แก้ไขหรือลบข้อมูลที่เก็บไว้ได้ด้วยโปรแกรมพิเศษ โดยไม่ต้องถอดออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เปรียบเสมือนกับหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่มีความเร็วสูง หน่วยความจำชนิดนี้มีข้อด้อย
2 ประการเมื่อเทียบกับหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง นั่นคือราคาที่สูงและมีความจุข้อมูลต่ำกว่ามาก ทำให้การใช้งานยังจำกัดอยู่กับงานที่ต้องการความเร็วสูงและเก็บข้อมูลไม่มากนัก ตัวอย่างของหน่วยความจำเป็นแบบที่รู้จักกันดีคือ หน่วยความจำแบบ Flash ซึ่งนิยมนำมาใช้เก็บในเครื่องรุ่นใหม่ ๆ