วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบบฐานข้อมูล (Data base Management System)

1. ระบบฐานข้อมูล (Database System)
    ระบบฐานข้อมูล (
File Management System)
    ปัญหาแฟ้มข้อมูล
        1.  ความซ้ำซ้อนของข้อมูล  (Data Redundancy)
        2.  ความไม่สอดคล้องกันของข้อมูล
        3.  ขาดความยืดหยุ่น
        4.  ความไม่ปลอดภัยของข้อมูล

        5.  ขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของข้อมูล
        6.  ข้อมูลมีความสัมพันธ์ลักษณะขึ้นต่อกับโปรแกรม  (
Application/Data Dependencies)

        7.  ข้อมูลแยกอิสระต่อกัน
ความหมายของฐานข้อมูล
      
     ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น
ฐานข้อมูลมีหลายประเภท
            
เช่น  ฐานข้อมูลทางภูมิศาสตร์ , ฐานข้อมูลความรู้ , ฐานข้อมูลทางมัลติมีเดีย
ระบบการจัดการฐานข้อมูล
           
คือ  ซอฟต์แวร์หรือกลุ่มของโปรแกรมที่ช่วยในการวางแผนประเภทของ 
DBMS  ส่วนประกอบของ  DBMS  มี  4  ส่วน  ได้แก่
            1.  โมเดลฐานข้อมูล
            2.  ภาษาข้อมูลความจำกัด
            3.  ภาษาในการจัดการข้อมูล
            4.  พจนานุกรมข้อมูล
โมเดลของข้อมูล  (
Data  Model) 
           คือ  ทำหน้าที่กำหนดรูปแบบโครงสร้างภาษาค่าจำกัดความของข้อมูล
องค์ประกอบของฐานข้อมูล  โดยพิจารณาจากการสร้างฐานข้อมูล
       1. เอนทิตี้
(Entity) หมายถึง ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ได้แก่ คน สถานที่ สิ่งของ การกระทำ ซึ่งต้องการจัดก็บข้อมูล
       2. 
ระเบียน (Record) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการเอาเขตข้อมูลหลาย ๆ เขตข้อมูลมารวมกัน เพื่อเกิดเป็นข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
แฟ้มข้อมูล (
File)
โครงสร้างของข้อมูลที่พิจารณาจากโครงสร้างข้อมูลตามลำดับ
       1.  บิท (
Bit) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด

       2.  ไบท์ (Byte) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำบิทมารวมกันเป็นตัวอักขระ   
(Character)
       3.  เขตข้อมูล (Field) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกันแล้วได้ความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ชื่อ ที่อยู่ เป็นต้น
       4.  แฟ้มข้อมูล  (File)  หมายถึง  เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในการจัดเก็บข้อมูล นามสกุลของไฟล์จะเป็นตัวบ่งบอกว่าเป็นไฟล์อะไร สามารถใช้โปรแกรมอะไรเปิดได้บ้าง การเรียนรู้ หรือเข้าใจประเภทของไฟล์ต่าง ๆ ย่อมจะมีส่วนช่วยให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลักษณะของนามสกุลของไฟล์จะอยู่หลังชื่อ เช่น Readme.txt นามสกุลของไฟล์คือ .txt เป็นต้น
       5.  ฐานข้อมูล  (
Data base)  หมายถึง  การรวมตัวกันของฐานข้อมูลตั้งแต่ 2ฐานข้อมูลเป็นต้นไปที่มีความสัมพันธ์กัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และทำให้การบำรุงรักษาตัวโปรแกรมง่ายมากขึ้น โดยผ่านระบบการจัดการฐานข้อมูล หรือ เรียกย่อ ๆ ว่า DBMS
ความสัมพันธ์ของข้อมูล
 แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
      1. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-one Relationships)
เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอนทิตี้หนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลในอีกเอนทิตี้หนึ่ง ในลักษณะหนึ่งต่อหนึ่ง (1 : 1)
      2. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One-to-many Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอนทิตี้หนึ่ง ที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลหลาย ๆ ข้อมูลในอีกเอนทิตี้หนึ่ง ในลักษณะ (1:m) ตัวอย่างเช่น
       3. ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many-to-many Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลสองเอนทิตี้ในลักษณะกลุ่มต่อกลุ่ม (m:n)
เอนทิตี้ใบสั่งซื้อแต่ละใบจะสามารถสั่งสินค้าได้มากกว่าหนึ่งชนิด ความสัมพันธ์ของข้อมูลจากเอนทิตี้ใบสั่งซื้อไปยังเอนทิตี้สินค้า จึงเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (
1:m) ในขณะที่สินค้าแต่ละชนิด จะถูกสั่งอยู่ในใบสั่งซื้อหลายใบ ความสัมพันธ์ของข้อมูลจากเอนทิตี้สินค้าไปยังอินทิตี้ใบสั่งซื้อ จึงเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1:n) ดังนั้นความสัมพันธ์ของเอนทิตี้ทั้งสอง จึงเป็นแบบกลุ่มต่อกลุ่ม (m:n)
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ
      1. ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น (Hierarchical Database)
    
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น เป็นโครงสร้างที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบพ่อ-ลูก (Parent-Child Relationship Type : PCR Type) หรือเป็นโครงสร้างรูปแบบต้นไม้ (Tree) ข้อมูลที่จัดเก็บในที่นี้ คือ ระเบียน (Record) ซึ่งประกอบด้วยค่าของเขตข้อมูล (Field) ของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ
      ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นนี้คล้ายคลึงกับฐานข้อมูลแบบเครือข่าย แต่ต่างกันที่ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น มีกฎเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งประการ คือ ในแต่ละกรอบจะมีลูกศรวิ่งเข้าหาได้ไม่เกิน
1 หัวลูกศร

2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Database)
ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะเป็นการรวมระเบียนต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนแต่จะต่างกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะแฝงความสัมพันธ์เอาไว้ โดยระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันจะต้องมีค่าของข้อมูลในแอททริบิวต์ใดแอททริบิวต์หนึ่งเหมือนกัน แต่ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย จะแสดงความสัมพันธ์อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น
3. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database)

       
เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เป็นตาราง (Table) หรือเรียกว่า รีเลชั่น (Relation) มีลักษณะเป็น 2 มิติ คือเป็นแถว (row) และเป็นคอลัมน์ (column) การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตาราง จะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์ (attribute) หรือคอลัมน์ที่เหมือนกันทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นี้จะเป็นรูปแบบของฐานข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น